วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ร้านสะดวกซื้อ ทำกันอย่างไร

แนวคิดในการทำร้านสะดวกซื้อ
โดย สมชัย เจริญวรเกียรติ
Email : somchai48@gmail.com

ในการทำ ร้านโชว์ห่วยใหม่นั้น ก่อนอื่นในการจะทำร้าน
โชว์ห่วยใหม่ต้องทราบความสำคัญ 6 เรื่อง
1. ทำเลที่ตั้งของร้าน
2.รูปแบบร้าน ขนาดของร้าน เพื่อให้ดูเรียบร้อย ทันสมัย สะอาด สวยงาม
และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อสินค้า
3.กลุ่มสินค้าที่จะขาย ที่มา ราคา การขนส่ง เครดิตเทอม
4.ระบบสนับสนุนการขายสินค้า การสั่งซื้อ สินค้าคงคลัง การทำการตลาด การเงิน บัญชี
5.บุคคลากรที่จะดำเนินธุรกิจ เจ้าของ ลูกน้อง พื้นฐานการศึกษา การอบรม
6.ที่มาของแห่งเงินลงทุน เพื่อการปรับปรุงร้าน และ ต้นทุนซื้อสินค้า

และต้องตั้งเป้าที่ชัดเจนในเรื่อง
1.ระยะเวลาเปิด - ปิดร้าน จะเปิด 06.00 - 20.00 น.หรือ เปิด 24 ชั่วโมง
2.เป้าหมายรายได้ที่จะขายได้ใน 1วัน , 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน
3.จำนวนลูกค้าที่จะเข้าร้านใน 1 วัน , 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน


จากสิ่งที่กล่าวเบื้องต้น หากจะนำมาใส่รายละเอียดเพื่อดำเนินการนั้น
สามารถใส่รายละเอียดคร่าว ๆ ได้ดังนี้
เรื่องที่ 1 ทำเลที่ตั้งของร้าน
พบว่าร้านโช่วห่วย ที่มีร้านอยู่แล้ว มักจะอยู่ในทำเลที่มีลูกค้าจึงไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่
แบ่งได้เป็น
1. ร้านโช่วห่วย ที่มีร้านอยู่แล้ว
2.ไม่มีร้านแต่ต้องการเปิดร้านใหม่
ผลการวิเคราะห์ : - ทำเลเดิมของร้านโชว์ห่วยเดิมอยู่ในทำเลที่ดีมากอยู่แล้ว มีกลุ่มลูกค้าเดิมที่คุ้นเคย และ
สามารถเป็นลูกค้าที่ยั่งยืนได้

เรื่องที่ 2 รูปแบบร้าน
แบ่งได้เป็น
1. ร้านที่อยู่ในอาคารพาณิชย์ 1 ห้อง, 2 ห้อง
2. ร้านที่อยู่ในบ้านพักอาศัย เช่นทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด หรือ
บ้านเดี่ยวที่สร้างอาคารออกมา
3. การใช้พื้นที่ว่างเพื่อทำการค้าขาย
ผลการวิเคราะห์ :
- เลือกปรับปรุงร้านที่มีอยู่แล้วก่อนจะดีกว่าเพราะมีความพร้อมในเรื่องการบริหารจัดการมากกว่า
- เลือกทำร้านที่เป็นอาคารพาณิชย์ ขนาด 1 ห้อง ก่อน เพื่อเป็นการนำร่อง
และ เป็นร้านที่สามารถขยายผลไปในอาคารแบบอื่นได้ง่าย เพราะขนาดพื้นที่ขายอยู่ระหว่าง 32 - 48ตารางเมตร
หลังจากนั้นขยายเป็นมาตรฐาน 80 - 100 ตารางเมตร
- สร้างร้านให้มีเอกลักษณ์ และเน้นว่าเป็นร้านของคนท้องถิ่นเพื่อดึงความรักชาติของคน
ท้องถิ่นออกมาให้เห็นอย่างแท้จริง
- เน้นการลงทุนที่ไม่มากเกินไป

เรื่องที่ 3. กลุ่มสินค้าที่จะขาย ที่มา ราคา การขนส่ง เครดิตเทอม แบ่งได้เป็น
กลุ่มสินค้า ที่มา โดยทั่วไป สินค้าในร้านโชว์ห่วย แบ่งออกเป็น
1. Non Food เช่น ของใช้ สบู่ ผงซักฟอก กระดาษชำระ เป็นต้น
2. Process Food เช่น น้ำตาล น้ำปลา ซอส
3. Instant Food เช่น ปลากระป๋อง บะหมี่สำเร็จรูป
4. Beverage เช่น เครื่องดื่ม น้ำอัดลม
5. Service เช่น รับชำระค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ บัตรเติมเงิน
ผลการวิเคราะห์ : กลุ่มสินค้าหลักที่มี ได้แก่ Non Food Process Food,
Instant Food, Beverage และ Service เน้นสินค้าที่ขายดีจริง ๆ 1-200
อันดับแรก ๆ เพราะสามารถสร้างยอดขายได้ถึง 80 %

แนวทางที่จะทำ ร้านโชว์ห่วยที่จะทำ ควรจะมีสินค้ากลุ่มที่แตกต่างได้แก่
1. เน้น สินค้าท้องถิ่น สินค้าของกลุ่มพื้นที่ สินค้าของชุมชน
2. บริการ ที่แตกต่างได้แก่ รับส่งไปรษณีย์ บริการห่อของขวัญ
3. เลือกสินค้าที่ผลิตจากโรงงานของคนไทย
เพื่อแสดงจุดยืนเรื่องการช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน
4. เน้น สินค้าที่เป็นสินค้าในท้องถิ่น ที่เป็นสินค้าคุณภาพดี ราคาเหมาะสม
5. มีตู้ ATM ในทุก ๆ ร้านที่สามารถมีได้เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับร้านโชว์ห่วย
6. ใช้ร้านโชว์ห่วย เป็นแหล่งกระจายสินค้า ระบบขายตรง เพื่อเพิ่มรายได้แก่ร้าน

ราคาสินค้า โดยทั่วไปราคาสินค้าจะอยู่ที่ข้างกล่อง
หรือฉลากสินค้าอยู่แล้ว ราคาขายส่วนใหญ่อยู่ที่ข้างกล่อง
ผลการวิเคราะห์ : ราคาสินค้าอยู่ที่การต่อรอง พูดคุย
หากซื้อปริมาณมากราคาย่อมถูก จึงต้องมีการรวมตัวของกลุ่มร้าน โชว์ห่วย
อาจจะใช้วิธี เช่น เขตต่าง ๆ โซนเดียวกัน รวมกันซื้อ
แนวทางที่จะทำ คือ
-หาร้านขายส่งที่สามารถขายส่งสินค้าให้กับร้านโชว์ห่วยเล็ก ๆ
ที่อยู่รายรอบ และสามารถส่งสินค้าให้กับร้านเล็ก ๆ ได้ ราคาไม่แพงกว่าราคาข้างกล่อง
แต่ร้านขายของชำยังคงมีกำไรอยู่ร้านโชว์ห่วยเมื่อขายสินค้าได้ ก็สามารถทำกำไรพออยู่ได้
- หา Supplier ที่มีสินค้าหลากหลาย และสามารถ ส่งสินค้าให้ร้านค้าโดยตรง

เรื่องที่ 4 : การทำการตลาด การเงิน บัญชี
การทำการตลาด เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ใช้สื่อจาก TV หรือสื่อท้องถิ่น เพื่อกระจายข่าวได้อย่างทั่วถึง
ผลการวิเคราะห์ :
- เป็นโอกาสที่ดีที่จะรีบสร้าง ปรับปรุงร้านโชว์ห่วยก่อนที่จะสายเกินไป
- แนวโน้มการใช้จ่ายของประชาชน จะซื้อของจำนวนน้อยลง
ยอมซื้อแต่ในราคาสูงขึ้น หรือ เต็มราคา แต่จะเก็บเงินสดมากขึ้น ร้านสะดวกซื้อจะได้รับความนิยม


แนวทางที่จะทำ คือ
- ทำการตลาดเฉพาะร้าน ลดราคา ทำบัตรสมาชิก และที่สำคัญต้องจดจำลูกค้า และทักทายลูกค้าได้
- เชิญ คนมีชื่อเสียงที่อยู่ในย่านนั้น ไปร่วมงานวันเปิดร้านเพื่อสร้างการจดจำ
- ออกข่าวการเปิดร้านทาง TV หรือสื่อท้องถิ่น เพื่อสร้างความมั่นใจ และเป็นการส่งข่าวให้ลูกค้าทราบ

การเงินและการบัญชี สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีขายในท้องตลาด
และหากสามารถใช้ระบบ บาร์โค็ดได้ก็จะดีมาก
เพราะจะทำให้ระบบการจัดการสินค้าภายในร้าน และสต็อก
มีความถูกต้องแม่นยำขึ้น แต่
ต้องระวังในกลุ่มสินค้าที่ผลิตขึ้นเองจะไม่มีบาร์ค็ด
แต่ก็สามารถที่จะสร้างบาร์ค็ดขึ้นมาเองได้ หากได้มีการศึกษาอย่างถูกต้อง
ซึ่งอาจจะต้องมีการผลิตขึ้นเอง หรือ ให้ผู้ผลิตเป็นผู้ผลิตและติดมากับสินค้าเลย
ผลการวิเคราะห์ : - โดยทั่วไปทางร้านจะต้องมีการบันทึกรายได้
รายจ่ายประจำอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ร้านไม่สามารถบันทึกได้คือ จำนวนสินค้าคงคลังที่เหลือ
ทำให้บางครั้งมีสินค้าเหลือจำนวนมาก และอาจพบว่ามีสินค้าหมดอายุจำนวนมาก
หรือเมื่อลูกค้าต้องการสินค้าแต่ทางร้านไม่มีสินค้าให้ลูกค้าจึงเสียโอกาสการขายไป
แนวทางที่จะทำ คือ :
- ลดปริมาณสินค้าคงคลังให้น้อยลง
เพื่อไม่ให้เงินจมอยู่กับตัวสินค้า ซึ่งระบบบาร์โค๊ดช่วยได้
- จัดส่งสินค้าให้กับร้านอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีสินค้าใหม่ ๆ
อยู่ตลอดเวลา และเงินไม่จมอยู่ที่สินค้าคงคลัง
- หากทำได้ควรจะมีการตรวจเช็คสินค้า เดือนละ 1 ครั้ง
และนำสินค้าที่ใกล้หมดอายุมาขายก่อน อีกทั้งหากมีสินค้าที่หมดความนิยม
แต่คุณภาพยังดีอยู่ ก็ควรจะนำมาขายเพื่อนำเงิน
กลับเข้ามาในระบบ

เรื่องที่ 5 บุคลากร และ การอบรม
บุคลากร ยังคงใช้ บุคลากรเดิมที่มีอยู่ในร้าน ซึ่งค่อนข้างมีความรู้น้อย
และมีอายุที่แตกต่างกันมาก ตั้งแต่เด็กสาว จนถึงคนสูงอายุ
ผลการวิเคราะห์ : การอบรมสำหรับร้านโชว์ห่วย
นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบากเพราะ ระดับการศึกษา ของผู้ที่
เกี่ยวข้องค่อนข้างต่ำ เข้าใจอะไรค่อนข้างยาก
อีกทั้งอายุของผู้เกี่ยวข้องหากไปพบผู้สูงอายุ การ
รับรู้ ความรู้ใหม่ ๆ จะทำได้ยาก
แนวทางที่จะทำ คือ :
การอบรม หากมีโปรแกรมที่สามารถทำงานได้ง่าย
การอบรมก็มีความจำเป็นน้อยลง แต่ ก็ต้องมีการอบรมเป็นระยะ ๆ
กรณีที่มีกลุ่มสินค้าของผู้ผลิตที่ต้องมาให้รายละเอียดสินค้าแก่
ร้าน ซึ่งต้องมีการอบรมอยู่แล้วก็น่าจะสามารถอบรมด้านอื่น ๆ
ให้กับร้านโชว์ห่วยได้ด้วย


เรื่องที่ 6. ที่มาของแหล่งเงินทุน
พบว่าส่วนใหญ่ร้านค้าจะมีเงินหมุนอยู่แล้ว และเจ้าของร้านโชว์ห่วยที่
พร้อมจะปรับปรุง ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของพื้นที่ หรือเจ้าของอาคาร
ซึ่งสามารถนำไปเป็นหลักประกันเงินกู้จากธนาคาร หรือสถาบันการเงินได้
ผลการวิเคราะห์ : เจ้าของร้านโชว์ห่วย ส่วนใหญ่
มีเงินหมุนอยู่บางส่วนแล้ว หากต้องการใช้เงินเพิ่มเพื่อการปรับ ปรุงร้าน
ซื้ออุปกรณ์ และซื้อสินค้า อาจจะต้องจัดหาแหล่งเงิน เช่น ธนาคารของรัฐ
แนวทางที่จะทำ คือ :
- พยายามใช้เงินเพื่อการปรับปรุงร้านให้น้อยที่สุด
เพื่อลดภาระแก่เจ้าของร้านโชว์ห่วย
- หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้แก่ร้านโชว์ห่วย ภาครัฐต้องเข้ามาช่วย


สรุป หากจะทำร้าน โชว์ห่วยให้ประสบความสำเร็จ ต้อง
1.อยู่ในทำเลที่ดี มีลูกค้ามากพอสมควร หรือทำเลใหม่ ๆ ที่วิเคราะห์แล้วมีการเติบโตสูง
2.ปรับปรุงร้านให้ดูทันสมัยขึ้น สะอาด เรียบร้อย สินค้าวางบน Shelf
3.มีป้าย และ LOGO ที่สื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้ว่าเป็นร้านโชว์ห่วยรูปแบบใหม่
4.มีสินค้าที่ลูกค้าต้องการตลอดเวลา และราคาไม่แพงกว่าราคาข้างกล่อง
5.ร้านโชว์ห่วยที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
6.ได้รับความช่วยเหลือทางด้านการตลาดจากภาครัฐ และ Supplier อย่างต่อเนื่อง
7.ควบคุม และ บริหารค่าใช้จ่าย และรายได้อย่างรู้จริงทุกบาททุกสตางค์
และมีการเก็บเงินสำรองไว้ใช้ยามจำเป็น

สรุปโดย
นายสมชัย เจริญวรเกียรติ
0814363483
Email:somchai48@gmail.com
ติดต่อมา หากคิดว่ามีประโยชน์ และผมสามารถช่วยได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น